ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   


เมนูหลัก
Link ที่น่าสนใจ


  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาพิเศษเรียนรวม โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์

เจ้าของผลงาน : นายสันติ อวรรณา
พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2561
เข้าชม : 1212    จำนวนการดาวน์โหลด : 385 ครั้ง
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
             รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาพิเศษเรียนรวม โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อประเมินบริบท (Context  Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 นโยบายของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input  Evaluation) ของโครงการด้านความรู้ ความเหมาะสม ความเพียงพอในด้านบุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการของโครงการ 3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process  Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตาม และการประเมินผล 4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product  Evaluation) การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  และความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ 5. เพื่อประเมินผลกระทบ (Impact  Evaluation) จากการดำเนินงานโครงการที่มีต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
             กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ใช้ประชากรผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 55 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ประชากรคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนโรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ปีการศึกษา 2560 จำนวน 238 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 238 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
             ผลการประเมินพบว่า การประเมินบริบทของโครงการ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาพิเศษเรียนรวม โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ มีความสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ  นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 นโยบายของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 37 อยู่ในระดับมากที่สุด และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
             ส่วนผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเพียงพอในด้านบุคลากร งบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์  และการบริหารจัดการของโครงการ โดยรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาพิเศษเรียนรวม และผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความสามารถในการดำเนินโครงการ  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูและบุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการดำเนินโครงการ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการอย่างเหมาะสม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
             สำหรับผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นว่าความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินการของโครงการ  ด้านการบริหารจัดการ  การจัดกระบวนการเรียนรู้  การนิเทศ  ติดตาม  และการประเมินผลของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาพิเศษเรียนรวม โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการวางแผนโครงการสู่การปฏิบัติ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องเป้าหมาย การจัดกิจกรรมมีการประสานความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง         รวมถึงมีการขยายผลและเผยแพร่การปฏิบัติสู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
             ในขณะที่ผลการประเมินผลผลิตหลังการดำเนินโครงการ ด้านทักษะความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง หลังการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องและเด็กพิการเรียนรวมมีความกล้าแสดงออก นักเรียนที่มีความบกพร่องและเด็กพิการเรียนรวมรู้และเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น และนักเรียนปกติมีทักษะการช่วยเหลือเบื้องต้นในการช่วยเหลือเพื่อนที่มีความบกพร่องและเด็กพิการเรียนรวม ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนที่มีความบกพร่องและเด็กพิการเรียนรวมรู้มีความเมตตา/เอื้ออาทร ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
          ส่วนผลกระทบของการดำเนินโครงการ ที่มีต่อนักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โรงเรียนได้รับรางวัลจากผลงานนักเรียนเพิ่มขึ้น ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนได้รับทุนการศึกษาเพิ่มขึ้น และโรงเรียนได้รับความไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธาและได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ

ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      24/มี.ค./2565
      22/พ.ย./2564
      27/มี.ค./2564
      27/มี.ค./2564
      26/มี.ค./2564